แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับสื่อการเรียนรู้ |
|
การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่สุด บทบาทของครู คือ ผู้อำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และบรรลุตามมาตรฐานของหลักสูตร บทบาทของนักเรียนเป็นผู้แสวงหา และเรียนรู้ด้วยการคิด การปฏิบัติอย่างแท้จริงให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง สื่อการสอน จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการสร้างสถานการณ์การเรียนรู้การพัฒนาศักยภาพในการคิดเพิ่มพูนทักษะประสบการณ์การเรียนรู้และเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม และค่านิยมแก่ผู้เรียน ความหมายของสื่อการสอน ความหมายของสื่อการสอนวิทยาศาสตร์
|
|
การประเมินสื่อการสอนวิทยาศาสตร์ |
|
|
การจัดการสอนวิทยาศาสตร์นั้น ควรมีสื่อที่หลากหลาย ทั้งสื่อธรรมชาติ สื่อสิ่งพิมพ์สื่อเทคโนโลยีและสื่ออื่นๆ รวมทั้งสื่อที่สามารถจัดทำขึ้นเอง เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษา จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีเกณฑ์ในการตรวจประเมินสื่อที่มีผู้จัดทำไว้ เพื่อตัดสินใจ เลือกสื่อที่มีคุณภาพมาใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้ โดยศึกษาหลักเกณฑ์ และวิธีการประเมินคุณภาพสื่อการสอนดังนี้ ศักดิ์ศรี ปาณะกุล(2550,หน้า 99-110) ได้กล่าวถึงการประเมินสื่อมี 2 ลักษณะดังนี้ 2. การตรวจสอบเนื้อหาสาระเป็นการตรวจสอบความถูกต้องในแง่ของเนื้อหาที่ปรากฏในสื่อ ได้แก่ ผู้ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบเนื้อหาสาระ ได้แก่ ครูผู้สอนหรือผู้เชี่ยวชาญในเนื้อหานั้นๆจำนวนอย่างน้อย 3 คนการตรวจสอบก็ใช้แบบประเมินเนื้อหาแล้วนำผลการประเมินมาปรับปรุงแก้ไขและนำไปตรวจสอบในขั้นตอนที่สองต่อไป ขั้นตอนที่ 2 การตรวจสอบคุณภาพสื่อ (qualitative basis) การตรวจสอบในขั้นตอนนี้เป็นการตรวจสอบคุณภาพสื่อเพื่อตรวจสอบดูการทำงานของสื่อว่าเมื่อใช้สื่อกับตัวแทนกลุ่มเป้าหมายสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ข้อใดบ้างตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้หรือไม่ควรจะต้องมีการปรับปรุงสื่อหรือไม่ อย่างไร ในการตรวจสอบประสิทธิภาพสื่อการเรียนการสอนในขั้นนี้ นอกจากจะเน้นที่การบรรลุวัตถุประสงค์ทุกข้อ ยังต้องพิจารณาปรับปรุงสื่อในทุกเรื่องที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบเนื้อหาสาระ รูปแบบการเสนอเนื้อหาสาระ กิจกรรมการเรียนการสอน ความยากง่ายของภาษา หรือภาพที่ใช้สื่อสาร เป็นต้น การตรวจสอบที่การบรรลุวัตถุประสงค์เป็นการให้ ความสำคัญกับทุกวัตถุประสงค์เท่ากัน ดังนั้น ในการตรวจสอบที่ได้จากการวัดผลในทุกวัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์ใดที่ผลการวัดแสดงว่ายังไม่บรรลุระดับมาตรฐานที่กำหนดก็จะต้องพิจารณาปรับปรุงในส่วนนั้น
อ้างอิงจาก ศักดิ์ศรี ปาณะกุล.(2550). วิธีการสอนวิทยาศาสตร์.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.
|